กฎอัยการศึก ของ ลำดับเวลารัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557

20 พฤษภาคม 2557

  • 08:25 น. - กอ.รส.ออกคำสั่งฉบับที่ 1 ให้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ทั้งหมด รับสัญญาณถ่ายทอดแถลงการณ์จากกองทัพบกทุกครั้งที่ได้รับการประสาน[1]
  • 09:48 น. - กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 3 ห้ามสื่อข่าวที่กระทบต่อการรักษาความสงบ[2]
  • 10:36 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 6 สั่งให้โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมระงับการออกอากาศจำนวน 10 ช่อง รวมถึงวิทยุชุมชนที่ไม่ได้รับอนุญาต[3]
  • 11:06 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 5 แต่งตั้งคณะที่ปรึกษา กอ.รส.
  • 12:40 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 4 เชิญบุคคลสำคัญร่วมประชุมแก้ปัญหาความไม่สงบ[4]
  • 14:00 น. กอ.รส. เริ่มประชุมตามคำสั่งฉบับที่ 4 ที่สโมสรทหารบก สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ปฏิเสธไม่เข้าร่วมประชุม[5]
  • 19:34 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 8 ขอความร่วมมือสื่อสังคมออนไลน์ ระงับส่งข้อความปลุกระดม สร้างความรุนแรง ไม่เคารพกฎหมาย ต่อสิทธิบุคคล[6]
  • 19:45 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 7 สั่งให้โทรทัศน์ดาวเทียมระงับการออกอากาศเพิ่มเติมอีก 4 ช่อง[7]
  • 20:09 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 9 สั่งห้ามสื่อทุกแขนง เชิญผู้ไม่มีตำแหน่งราชการ แสดงความเห็นก่อความขัดแย้ง พร้อมสั่งให้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด พลตำรวจโท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรจังหวัด เข้าระงับการชุมนุมต่อต้าน การปฏิบัติงานของ กอ.รส.[8]
  • 20:49 น. กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 10 สั่งห้ามข้าราชการ-เจ้าหน้าที่พลเรือน-ประชาชน พกพา-ใช้อาวุธสงครามและวัตถุระเบิด เว้นทหารตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยตามคำสั่ง[9]
  • 21:04 น. พันเอก วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก ในฐานะ โฆษก กอ.รส. ชี้แจงขั้นตอนการประกาศกฎอัยการศึกว่าเป็นไปตามกฎหมายทุกประการ ผ่าน โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย[10] และ กอ.รส. ออกคำสั่งฉบับที่ 12 ให้ตำรวจ, เจ้าหน้าที่พลเรือน, หน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ[11][12]

21 พฤษภาคม 2557

วันที่ 21 พฤษภาคม 2557 กลุ่มผู้ชุมนุมทั้งสองยังชุมนุมต่อไป กอ.รส. ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ตและสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายงานต่อ กอ.รส. เพื่อควบคุมเนื้อหาทางออนไลน์[13] ในช่วงบ่ายวันนั้น มีประกาศ กอ.รส. ฉบับที่ 6/2557 เพื่อเรียกตัวแทนจาก 7 ฝ่ายเข้าร่วมประชุมที่สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต[14] โดยห้ามมิให้มีผู้ติดตามเดินทางมาด้วย โดยรายนามผู้ที่ได้รับเชิญมีดังนี้

  1. ผู้แทนรัฐบาล ประกอบด้วย นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการนายกรัฐมนตรี และผู้ติดตาม 4 คน โดย นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล มอบหมายให้ ศ.พิเศษ ชัยเกษม นิติสิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นหัวหน้าคณะแทน (ผู้ติดตามประกอบด้วย พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน รศ.ดร. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม วราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
  2. ผู้แทนวุฒิสภา ประกอบด้วย สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 และผู้ติดตาม 4 คน (ผู้ติดตามอีก 1 คน คือ พีระศักดิ์ พอจิต ส.ว.อุตรดิตถ์)
  3. คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกอบด้วย ศุภชัย สมเจริญ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง และคณะกรรมการการเลือกตั้ง 4 คน (คณะกรรมการการเลือกตั้ง 3 คน และ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง 1 คน ประกอบด้วย บุญส่ง น้อยโสภณ กรรมการการเลือกตั้ง ด้านสืบสวนสอบสวน สมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง ประวิช รัตนเพียร กรรมการการเลือกตั้ง ด้านกิจการการมีส่วนร่วม และ ภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง)
  4. ผู้แทน พรรคเพื่อไทย ประกอบด้วย จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรค และผู้ติดตาม 4 คน โดยจารุพงศ์มอบหมายให้ พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ รองหัวหน้าพรรค เป็นหัวหน้าคณะแทน (ผู้ติดตามประกอบด้วย ภูมิธรรม เวชยชัย เลขาธิการพรรค พร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรค รศ. ชูศักดิ์ ศิรินิล คณะทำงานฝ่ายกฎหมาย และ วันมูหะมัดนอร์ มะทา กรรมการยุทธศาสตร์พรรค)
  5. ผู้แทน พรรคประชาธิปัตย์ ประกอบด้วย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค และผู้ติดตาม 4 คน (ผู้ติดตามประกอบด้วย จุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรค ชำนิ ศักดิเศรษฐ์ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองหัวหน้าพรรค และ นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรค)
  6. ผู้แทน คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ประกอบด้วย สุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ และผู้ติดตาม 4 คน (ผู้ติดตามประกอบด้วย สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ศ.ดร. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ สมศักดิ์ โกศัยสุข แกนนำ กปปส. และ เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษก กปปส.)
  7. ผู้แทน แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ประกอบด้วย จตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน และผู้ติดตาม 4 คน (ผู้ติดตามประกอบด้วย ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ผศ. ธิดา ถาวรเศรษฐ วีระกานต์ มุสิกพงศ์ และ ก่อแก้ว พิกุลทอง แกนนำ นปช.)

โดยการประชุมเป็นไปอย่างเคร่งเครียดตั้งแต่เวลา 13.30 น. จน พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจให้มาประชุมกันใหม่ในวันรุ่งขึ้น (22 พฤษภาคม 2557) เวลา 14.00 น.[15] เพื่อหาทางออกของประเทศร่วมกัน ภายหลังรัฐมนตรีรักษาการได้ออกมาเผยว่าท่าทีของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในที่ประชุมดูแปลกไป แต่ตนเชื่อว่า พล.อ.ประยุทธยังคงไม่คิดรัฐประหารแน่นอน[ต้องการอ้างอิง] ในวันนี้ได้มีการแต่งตั้ง นุรักษ์ มาประณีต เป็น ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ลำดับเวลารัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics... http://www.bbc.com/thai/thailand-42846461 http://morning-news.bectero.com/political/23-May-1... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%...